อาหารพื้นบ้านเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและยับยั้งโควิด เมื่อคนไข้ได้รับเชื้อโควิด ร่างจะกายมีการอับเสบ โดยปกติแล้วแพทย์จะให้ยาแผนปัจจุบันชนิดที่มีฤทธิ์ขัดขวางโปรตีนชนิด interleukin-6 (blocking interleukin-6) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ปัจจุบันพบว่ามียาสมุนไพรบางตัวสามารถออกฤทธิ์เช่นเดียวกัน แต่ใช้ง่ายกว่า ในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของนักเภสัชวิทยา จากการศึกษาทาง molecular docking (การจำลองภาพ 3 มิติของการจับกันระหว่างโมเลกุล) ของสมุนไพรบางชนิด ได้แก่ กระชายขาว และฟ้าทะลายโจร พบว่ามีแร่ธาตุและสังกะสีที่เชื่อว่าป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้

ระยะก่อนติดเชื้อ
ในระยะก่อนติดเชื้อ แนะนำให้กินอาหารเพื่อเป็นยาเสริมภูมิคุ้มกัน เน้นกลุ่มเครื่องเทศ เช่น กระชาย ขิง หอม หูเสือ ตะไคร้ กะเพรา ยาตรีผลา และกระเทียม ซึ่งปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น กระเทียมดำ กระเทียมที่สกัดด้วยน้ำ หรือกระเทียมสกัดด้วยน้ำมัน แต่ไม่ว่ารูปแบบใดก็มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันได้ทั้งสิ้น และในผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรในขนาดรักษาแม้จะยังตรวจพบเชื้อก็ตาม

ระยะติดเชื้อแล้ว
ในระยะติดเชื้อแล้วสามารถใช้ยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยที่ไม่รุนแรง ควรกินยาฟ้าทะลายโจรให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ หากมีเสมหะเหนียวในคอ แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรบดหยาบ (อาจผสมมะนาว และน้ำผึ้งเพื่อให้รับประทานง่าย) กวาดคอเพื่อดึงเสมหะออกมาร่วมกับการกินน้ำมะขามป้อม ส่วนยาขิง ยาแก้ไอมะขามป้อม ยาสุมรมไอน้ำ จะสามารถบรรเทาอาการได้ดี (แต่ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อโควิด) ยาปราบชมพูทวีป ให้เริ่มกินเมื่อมีอาการแล้ว

ระยะหลังติดเชื้อ
ระยะนี้ผู้ป่วยจะเหนื่อย และอ่อนเพลียมาก หากไม่มีอาการใด แนะนำให้รับประทานอาหารย่อยง่าย และกลุ่มเครื่องเทศ ร่วมกับอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างเมนูอาหารได้
โดยทางรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้ทดลองนำเมนูอาหารดังกล่าวใช้กับผู้ป่วยก่อน-หลังติดเชื้อ พบว่าได้ผลดีมาก โดยเฉพาะซุปหัวหอม และตำรับยาบำรุงปอด ในขณะที่ยาปราบชมพูทวีป และยาอภัยสาลี มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ และผู้ป่วยที่ใช้ยาบางประเภท
ป้ายกำกับ:ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร, คุณค่าและสรรพคุณ, สมุนไพร, สุขภาพ