การใช้พริกในการแพทย์

การใช้พริกในการแพทย์

การใช้พริกในการแพทย์

เป็นพืชเมืองร้อนชนิดหนึ่งมีลำต้นตรง ดอกสีขาวลักษณะคล้ายดาว ผลพริกมีความหลากหลายทั้งสี ขนาด และรูปทรง ซึ่งเป็นส่วนที่นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงชูรสชาติทั้งแบบสด แบบแห้ง และแบบผงป่น นอกจากจะทำให้พริกมีรสชาติโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว แคปไซซินยังเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายคนเชื่อว่าสารแคปไซซินอาจมีส่วนช่วยรักษาหรือทำให้อาการต่าง

ความหมายของพริก

เป็นพืชเมืองร้อนชนิดหนึ่งมีลำต้นตรง ดอกสีขาวลักษณะคล้ายดาว ผลพริกมีความหลากหลายทั้งสี ขนาด และรูปทรง ซึ่งเป็นส่วนที่นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงชูรสชาติทั้งแบบสด แบบแห้ง และแบบผงป่น โดยเฉพาะอาหารไทย อาหารอินเดีย และอาหารเม็กซิกันสิ่งที่ทำให้พริกมีความเผ็ดร้อนจนทำให้หลายคนจดจำได้ เป็นเพราะสารแคปไซซิน (Capsaicin) นอกจากจะทำให้พริกมีรสชาติโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว แคปไซซินยังเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายคนเชื่อว่าสารแคปไซซินอาจมีส่วนช่วยรักษาหรือทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ เช่น บรรเทาอาการปวดหรือเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวดข้อ การติดเชื้อทางผิวหนัง แผลในกระเพาะอาหาร ลดระดับไขมันในเลือด รวมถึงเชื่อว่าอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย

ตัวอย่างการใช้พริกในการแพทย์

1. รักษาอาการปวดข้อ

สารแคปไซซินจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารที่เชื่อว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดระหว่างเส้นประสาทในกระดูกสันหลังกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสารแคปไซซิน โดยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซิน 0.025 เปอร์เซ็นต์ ทาที่บริเวณหัวเข่าวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ามีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์มีอาการดีขึ้นหลังใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินไปแล้ว 2 สัปดาห์ และบางรายมีอาการแสบร้อนชั่วคราวเกิดขึ้นบริเวณที่ทาครีม จากผลการทดลองข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่าครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินปลอดภัยและอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดข้อ อีกทั้งองค์การอาหารและยา (FDA) ยังให้การรับรองว่าสารแคปไซซินซึ่งเป็นสารสกัดที่พบได้ในพริกมีประโยชน์บรรเทาอาการปวดข้อในกรณีใช้รูปแบบเฉพาะที่ 

2. รักษาอาการปวดเส้นประสาทชนิดเรื้อรัง

 มีสาเหตุมาจากโรคหรือได้รับบาดเจ็บจนทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย มักมีอาการปวดหลายวันหรืออย่างน้อยประมาณ 3 เดือน มีความเชื่อว่าสารแคปไซซินในพริกซึ่งเป็นสารให้ความเผ็ดร้อน อาจมีส่วนช่วยระงับความเจ็บปวดของเส้นประสาทซึ่งจะส่งผลให้อาการต่าง ๆ บรรเทาลง สอดคล้องกับการศึกษา 7 ชิ้น ซึ่งให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัด จากโรคเบาหวาน และจากการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนทั้งสิ้น 2,442 คน ใช้สารแคปไซซินที่มีความเข้มข้นสูงทาบริเวณที่มีอาการ พบว่าอาการปวดดีขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก แต่มีการศึกษาขนาดเล็กชิ้นหนึ่งที่แสดงผลลัพธ์แตกต่างออกไป เมื่อให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหลังมีอาการปวดจากไส้เลื่อนใช้สารสกัดจากพริก ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามหลักฐานการศึกษาข้างต้นอยู่ในระดับคุณภาพปานกลางที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแผ่นแปะที่มีความเข้มข้นของสารแคปไซซินสูง 8 เปอร์เซ็นต์ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระดับปานกลางหรือบรรเทาได้ดีกว่าสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัด

3. รักษาโรคสะเก็ดเงิน 

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินทาในบริเวณที่มีอาการของโรคสะเก็ดเงินเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการโดยรวมดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก และในช่วงแรกของการทดลองมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงคือ รู้สึกแสบร้อน แดง และคันที่บริเวณผิวหนัง แต่อาการดีขึ้นเมื่อใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากผลการทดลองอาจกล่าวได้ว่ายาที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้ในพริกอาจมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

ป้ายกำกับ:, ,