การจำแนกลักษณะของสมุนไพรไทย

การจำแนกลักษณะของสมุนไพรไทย

การจำแนกลักษณะของสมุนไพรไทยมีหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ตามลักษณะพื้นที่ และสภาพภูมิอากาศของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม มีคุณสมบัติบางอย่างที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ลักษณะเฉพาะที่ช่วยให้สมุนไพรเหล่านั้นแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์จากสมุนไพรในพื้นที่อื่น ๆ โดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ ความหลากหลายของพืช สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมี และสมบัติทางวัฒนธรรม

ความเชื่อและศาสตร์พื้นฐานของสมุนไพร

การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์

hgridh

สมุนไพรที่ใช้เป็นยา แบ่งได้เป็นยารับประทาน ซึ่งนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ เช่น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ใช้แก้ไข้ เป็นต้นและยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนังแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายเช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก เป็นต้น

การจำแนกตามลักษณะภายนอกพืช

2.1 ไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นใหม่ ลำต้นเดี่ยว สูงมากกว่า 6 เมตร เจริญเติบโตตั้งตรงขึ้นไป

2.2 ไม้พุ่ม(shrub) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ขนาดเล็ก และเตี้ยมีหลายลำต้นที่แยกจากดินหรือลำต้นจะแตกกิ่งก้านใกล้โคนต้น หรือมีลำต้นเล็กๆ หลายต้นจากโคนเดียวกัน ทำให้ดูเป็นกอหรือเป็นพุ่ม

2.3 ไม้ล้มลุก (herb) เป็นพืชที่มีลำต้นอ่อน ไม่มีเนื้อไม้ หักง่าย มีอายุ 1 หรือหลายปี

2.4 ไม้เลื้อยหรือไม้เถา (climber) เป็นพืชที่มีลำต้นยาว ไม่สามารถตั้งตรงได้ต้องอาศัยสิ่งยึดเกาะตามกิ่งไม้ อาศัยส่วนของพืชเกาะ อาจเป็นลำต้น หนวดหรือนามก็ได้

การจำแนกตามหลักพฤกษศาสตร์

จำแนกตามลักษณะของโครงสร้างของดอก รวมทั้งความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการพืช โครงสร้างการจำแนกตามหลักนี้ ถือว่าเป็นระบบที่ถูกต้องแน่นอนที่สุดเป็นที่ยอมรับทางสากล โดยพืชที่อยู่ในตละกูลหรือจีนัส (genus) เดียวกันจะบอกความสัมพันธ์และแหล่งกำเนิด มีความต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต การควบคุมโรคแมลงที่คล้ายคลึง ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านี้จะมีชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อวงศ์ เพื่อจำแนกพืชสมุนไพรได้ถูกต้อง

สารสำคัญในอัญชัน Anthocyanins: สารนี้เป็นกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้สีฟ้าหรือม่วงแก่อัญชัน มีประโยชน์ในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน Flavonoids: มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย Peptides: มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผิวหนัง